เมนู

คลำจับต้องกาย มีเนื้อความว่า ภิกษุณีมีจิตชุ่มด้วยราคะ ยินดีการที่ชาย
ผู้มีจิตชุ่มด้วยราคะมาจับต้องกาย.
มีเนื้อความว่าสั่งสม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตุเมฺหหิ ปุญฺญํ
ปสุตํ อนปฺปกํ
บุญเป็นอันมาก ท่านทั้งหลายได้สั่งสมแล้ว มีเนื้อความว่า
เข้าไปสั่งสมแล้ว.
มีเนื้อความว่าขวนขวาย เช่นในประโยคมีอาทิว่า เย ฌานปสุตา
ธีรา
ปราชญ์ทั้งหลายเหล่าใดผู้ขวนขวายในฌาน มีเนื้อความว่า ประกอบ
เนือง ๆ ในฌาน.
มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสด เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ทิฏฺฐิ สุตํ มุตํ รูปารมณ์ที่จักษุเห็น สัททารมณ์ที่โสดฟัง และอารมณ์
ทั้งหลายที่ทราบ มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต.
มีเนื้อควานว่า รู้ตามโสตทวาร เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธโร
สุตสนฺนิจฺจโย
ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ มีเนื้อความว่า ทรงธรรม ที่รู้ตาม
โสดทวาร.
แต่ในพระสูตรนี้ สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่า จำหรือความจำตาม
โสตทวาร.
ก็ เม ศัพท์ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความได้ว่า
ข้าพเจ้าได้สดับมา คือจำตามโสตทวาร อย่างนี้ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ
มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้า คือ ความจำตาม
โสตทวารของข้าพเจ้า อย่างนี้.

แก้อรรถ เอวมฺเม สุตํ


บรรดาบททั้ง 3 ดังกล่าวมานี้ บทว่า เอวํ แสดงกิจแห่งวิญญาณ

มีโสตวิญญาณเป็นต้น.
บทว่า เม แสดงบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณที่กล่าว
แล้ว.
บทว่า สุตํ แสดงการรับไว้อย่างไม่ขาดไม่เกิน และไม่วิปริต เพราะ
ปฏิเสธภาวะที่ไม่ได้ยิน.
อนึ่ง บทว่า เอวํ ประกาศภาวะที่เป็นไปในอารมณ์ที่ประกอบต่าง ๆ
ตามวิถีวิญญาณที่เป็นไปตามโสตทวารนั้น.
บทว่า เม เป็นคำประกาศตน.
บทว่า สุตํ เป็นคำประกาศธรรม.
ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้ามิได้กระทำสิ่งอื่น แต่
ได้กระทำสิ่งนี้ คือได้สดับธรรมนี้ ตามวิถีวิญญาณอันเป็นไปในอารมณ์
โดยประการต่าง ๆ.
อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นคำประกาศข้อควรชี้แจง.
บทว่า เม เป็นคำประกาศถึงตัวบุคคล.
บทว่า สุตํ เป็นคำประกาศถึงกิจของบุคคล.
อธิบายว่า ข้าพเจ้าจักชี้แจงพระสูตรใด พระสูตรนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับ มาอย่างนี้.
อนึ่ง บทว่า เอวํ ชี้แจงอาการต่าง ๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัว
รับอรรถะและพยัญชนะต่าง ๆ ด้วยเป็นไปโดยอาการต่างกัน.
จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอวํ นี้ เป็นอาการบัญญัติ.
ศัพท์ว่า เม เป็นคำชี้ถึงผู้ทำ.
ศัพท์ว่า สุตํ เป็นคำชี้ถึงอารมณ์.

ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันจิตสันดานที่เป็นไปโดยอาการต่างกัน
กระทำการตกลงรับอารมณ์ ของผู้ทำที่มีความพร้อมเพรียงด้วยจิตสันดาน
นั้น.
อีกประการหนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ เป็นคำชี้กิจของบุคคล.
ศัพท์ว่า สุตํ เป็นคำชี้ถึงกิจของวิญญาณ
ศัพท์ว่า เม เป็นคำถึงบุคคลผู้ประกอบกิจทั้งสอง.

ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า คือบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยโสตวิญญาณ ได้สดับมาด้วยโวหารว่า สวนกิจที่ได้มาด้วยอำนาจ
วิญญาณ.
บรรดาศัพท์ทั้ง 3 นั้น ศัพท์ว่า เอวํ และศัพท์ว่า เม เป็นอวิชชมาน-
บัญญัติ ด้วยอำนาจสัจฉิกัตถปรมัตถ์ เพราะในพระบาลีนี้ ข้อที่ควรจะได้
ชี้แจงว่า เอวํ ก็ดี ว่า เม ก็ดี นั้น ว่าโดยปรมัตถ์ จะมีอยู่อย่างไร.
บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ เพราะอารมณ์ที่ได้ทางโสต ใน
บทนี้นั้น ว่าโดยปรมัตถ์มีอยู่.
อนึ่ง บทว่า เอวํ และ เม เป็นอุปาทาบัญญัติ เพราะมุ่งกล่าว
อารมณ์นั้น ๆ.
บทว่า สุตํ เป็นอุปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวอ้างถึงอารมณ์มีอารมณ์
ที่เห็นแล้วเป็นต้น.
ก็ในพระบาลีนี้ ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่
หลง. เพราะคนหลงย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ ได้.
ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ลืมถ้อยคำที่ได้สดับ
มา เพราะผู้ที่ลืมถ้อยคำที่ไค้สดับมานั้น ย่อมไม่รู้ชัดว่า ข้าพเจ้าได้สดับ

มาโดยกาลพิเศษ.
ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระอานนท์นี้ ย่อมมีความสำเร็จทางปัญญา
ด้วยความไม่หลง และย่อมมีความสำเร็จทางสติ ด้วยความไม่ลืม.
ในความสำเร็จ 2 ประการนั้น สติอันมีปัญญานำ สามารถห้าม
(ความอื่น) โดยพยัญชนะ ปัญญาอันมีสตินำ สามารถแทงตลอดโดย
อรรถ. โดยที่มีความสามารถทั้ง 2 ประการนั้น ย่อมสำเร็จภาวะที่ท่าน
พระอานนท์จะได้นามว่า ขุนคลังแห่งพระธรรม เพราะสามารถจะ
อนุรักษ์คลังพระธรรม ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ.

อีกนัยหนึ่ง


ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงโยนิโสมนสิการ เพราะผู้ที่
ไม่มีโยน โสมนสิการ ไม่แทงตลอดโดยประการต่าง ๆ
ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะผู้ที่
มีจิตฟุ้งซ่านฟังไม่ได้.
จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้เขาจะพูดด้วยความสมบูรณ์
ทุกอย่าง ก็ยังพูดว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ขอจงพูดซ้ำ.
ก็ในคุณ 2 ข้อนี้ ท่านพระอานนท์ทำอัตตสัมมาปณิธิและปุพเพ-
กตปุญญตาให้สำเร็จได้ ด้วยโยนิโสมนสิการ เพราะผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ
หรือมิได้กระทำความดีไว้ก่อน จะไม่มีโยนิโสมนสิการ ท่านพระอานนท์
ทำการฟังพระสัทธรรมและการพึ่งสัตบุรุษให้สำเร็จได้ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
เพราะผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่สามารถจะฟังได้ และผู้ไม่พึ่งสัตบุรุษ ก็ไม่มีการ
สดับฟัง.